Business model และความเป็นไปได้ของ "Clubhouse"

Clubhouse เริ่มให้บริการมาตั้งแต่ต้นปี 2020 ก่อตั้งโดย Paul Davidson และ Rohan Seth ในฐานะพื้นที่ที่เปิดให้ผู้คนเข้ามาพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนความคิด โดยนำข้อดีของ Platform, Podcasting, Social Media และ Radio เข้ามารวมไว้ด้วยกัน ปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 2 ล้านคนต่อสัปดาห์ จนมีมูลค่าแตะ 1,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 30,000 ล้านบาท) แต่รู้หรือไม่ว่า พนักงานที่ร่วมพัฒนาและผลักดันแอพนี้ยังมีอยู่เพียง 9 คนเท่านั้น

ต้องยอมรับว่า Clubhouse ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น หรือเรียกได้ว่ายังไม่มีรายได้เข้ามา แต่มูลค่าบริษัทกลับพุ่งแตะระดับ 1,000 ล้านดอลลาร์

“แอพมีระบบการทำงานที่ออกแบบมาสำหรับการจัดการห้องพูดคุย หรือการทำงานร่วมกับ Creator เช่น การ Donations ให้กับ Creator เพื่อให้กำลังใจในการทำ Content ดีๆออกมาแบบ Twitch หรือการจ่ายเงินเพื่อใช้ Features เพิ่มแบบที่ Tinder และ Bumble ใช้ ซึ่ง Business Model แบบนี้จะตอบโจทย์ต่อทั้ง Ecosystem แอพจึงมีโอกาสเติบโตไปพร้อมกับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น ข้อนี้เอง ที่ทำให้ Clubhouse โดดเด่นกว่าแอพอื่นๆซึ่งใช้ ad-based business model เป็นหลัก ตรงข้ามกับ Clubhouse ที่เน้นการให้ความสำคัญกับประสบการณ์ และ Community มากกว่ายอดคลิกโฆษณา” - Andrew Chen จาก a16z Venture capital ผู้ร่วมลงทุน กล่าว

ความไปได้ในแง่ Business Model

แต่ก็มีอีกมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Digital วิเคราะห์ไว้ว่า “Clubhouse จะมี Business Model เหมือนกับ Facebook, Linkedin, Youtube ที่ใช้ data เป็นหัวใจในการสร้างรายได้ และแบ่งได้เป็น 2 แบบ ได้

1. Ad-based Model : ที่ในแต่ละห้องจะมี ad banner หรือห้องสำหรับสปอนเซอร์เท่านั้น

2. Paid Subscription Model : ที่สมาชิกแบบเสียเงินจะไม่เห็นโฆษณาหรือมี Exclusive Content อย่าง Youtube Premium

แล้วถ้ามองในมุมของผู้ใช้งาน จะสามารถหารายได้เหมือนกับ Social Media อื่นหรือไม่ สำหรับประเด็นนี้ มีผู้ที่มองว่า การที่ Clubhouse เองก็เป็นหนึ่งใน Social Media ที่สามารถเข้าถึงคนในวงกว้าง ผู้ใช้งานจึงมีโอกาสที่จะจัดอีเว้นท์โดยดึงสปอนเซอร์เข้ามาสนับสนุน รวมถึงการสร้าง Lead Brand awareness หรือ tie-in สินค้าได้เช่นกัน

ก้าวต่อไปของ Clubhouse

โดยหลังจากที่ Clubhouse สามารถขยายฐานแฟนคลับได้นับล้านภายในเวลาไม่ถึง 1 ปี ก้าวต่อไปของ Clubhouse คงจะเป็นการขยับขึ้นมาแข่งกับ Social Media อื่น ๆ เช่น Facebook, Twitter แต่โจทย์ ‘กลยุทธ์ในการทำเงิน’ ที่นอกเหนือไปจากแค่เรื่องของโฆษณาเหมือนที่ Social Media อื่นใช้ ก็คือ Clubhouse เน้นส่งเสริมให้ทั้ง community มีคุณภาพที่ดีขึ้น เช่น การทำ VIP subscriptions หรือ donation สำหรับ Exclusive content ก็จะช่วยให้ content ออกมาดีขึ้นและดึงดูดให้คนเข้ามาในแอพมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีประเด็นเรื่อง Data privacy ที่บริษัทเองก็ยังไม่ได้ออกมาอธิบายชัดเจนว่าได้ใช้ข้อมูลของสมาชิกในทางไหนบ้าง หรือวิเคราะห์ข้อมูลเสียงที่เกิดขึ้นในแอพ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบเวลาขยายไปยังต่างประเทศ เช่น จีนและยุโรป เป็นต้น

อ้างอิง

- Clubhouse Business Model And The Rising "Social Radio" Platform - FourWeekMBA

- What is Clubhouse? What to know about the voice chatting app (businessinsider.com)

- Clubhouse Statistics: Revenue, Users and More (2021) (influencermarketinghub.com)

- Clubhouse: What they reveal about the business model - NewsABC.net