Telemedicine (โทรเวชกรรม) New Normal ของวงการ HealthCare

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา ระหว่างที่เกิดวิกฤตการณ์ COVID-19 โรคระบาดที่ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตประจำวัน การดำรงชีวิต และทำธุรกิจ จนสร้างปรากฏการณ์ที่เรียกว่า New Normal ขึ้น ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นตัวเร่งและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน  เช่น เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุนการ Work From Home แต่อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่มีการพัฒนา และเติบโตแบบก้าวกระโดดอุตสาหกรรมหนึ่ง ได้แก่ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์และสุขภาพ (HealthTech) จนมีผู้กล่าวว่า ที่ Healthcareจะเป็นวงการที่ถูก Disrupt ในไม่ช้านี้ ซึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ สาธรณสุข และสุขภาพ ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในเวลานี้ ได้แก่ Telemedicine (โทรเวชกรรม) จนกลายมาเป็น New Normal อย่างแท้จริงในบางประเทศ เช่น ประเทศจีน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีอัตราการใช้ (Adoption rate) สูง ดังจะเห็นได้จาก เดือนสิงหาคม 2020 Ping An Good Doctor มีจำนวน registered users ประมาณ 346 ล้านราย โดยเป็น Monthly active users ประมาณ 67.27 ล้านราย และจำนวนผู้ใช้ใหม่ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Source: Bain & Company

ในความเป็นจริง Telemedicine และเทคโนโลยีทางการแพทย์ สาธารณสุข และสุขภาพ อื่นๆ (เช่น การใช้ AI เพื่อระบุโรค อาการของโรค และคิดค้นยารักษาโรค) ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วง COVID-19 แต่มีการพัฒนาและเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ตามปัจจัยเร่งต่างๆ เช่น การสนับสนุนของภาครัฐ, ความต้องการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์และสุขภาพได้อย่างรวดเร็วและมีมาตรฐานของประชาชน, การเกิดโรคระบาดใหม่ เป็นต้น ประเทศจีนเป็นประเทศที่ประสบปัญหาขาดแคลนแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ รวมไปถึงทรัพยากรทางการแพทย์อื่นๆ เช่น โรงพยาบาล (จีนมีอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร 1,000 คนอยู่ที่ 2.22 คน ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 3.19 คน)  ด้วย Market size ที่ใหญ่ และปัจจัยสนับสนุน ทำให้บริษัทใหญ่ๆ ในจีน เช่น Ping An Group รวมไปถึง Tech-Giants เช่น Tencent, Alibaba, Baidu ได้เข้ามาเป็นผู้เล่นที่มีบทบาทสำคัญในวงการนี้ อย่างไรก็ตาม หากจะกล่าวถึงบริษัทจีน ที่เป็นต้นแบบของ Business Model และ Integrated ecosystem (Online-to-Offline (O2O) Healthcare Platform) ในด้าน Telemedicine คงต้องยกให้ Ping An Good Doctor ซึ่งเป็นผู้ให้บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์รายใหญ่ในจีน และมีการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้งานรายใหม่ถึง 900% ในช่วงเดือนธันวาคม 2019  - กุมภาพันธ์ 2020 ที่ผ่านมา

Source: Bain & Company

สำหรับในประเทศไทย Telemedicine ได้ถูกพูดถึงและเริ่มนำมาใช้อย่างแพร่หลายในช่วงปี 2020 และ 2021 ที่ผ่านมา ในช่วงที่เกิดโรค COVID-19 ผู้เล่นรายสำคัญในการพัฒนาและให้บริการTelemedicine ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

● Startup อาทิเช่น Doctor A to Z, Doctor Anywhere, ChiiWii, Ooca เป็นต้น

● โรงพยาบาลรัฐและเอกชน เช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เป็นต้น

● บริษัทฯที่ต้องการขยายธุรกิจ และฐานลูกค้ามาในวงการแพทย์และสาธารณสุข โดยอาจจะเป็นการร่วมมือกันระหว่าง startup และกลุ่มธุรกิจ และ/หรือ การร่วมมือระหว่างกลุ่มธุรกิจ และโรงพยาบาล เช่น กลุ่มธนาคาร เป็นต้น อาทิเช่น

○ RAMA APP: SCB ร่วมมือกับ โรงพยาบาลรามาธิบดี

○ SIRIRAJ CONNECT: SCB ร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

○ SAMITIVEJ PLUS: SCB ร่วมมือกับ โรงพยาบาลสมิติเวช

○ Doctor A to Z sponsored by SCB mobile application: SCB ร่วมมือกับ Doctor A to Z ให้บริการ Tele-Consultation Service

○ CHULA CARE: KBANK-เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมมือกับ โรงพยาบาลจุฬาฯ

○ CBH PLUS: KBANK ร่วมมือกับ โรงพยาบาลชลบุรี

จากบริบทของประเทศต่างๆทั่วโลก รวมไปถึงประเทศไทย เริ่มมีการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์และสุขภาพมาใช้ ในปี 2020 แพทยสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้ออกประกาศมากำหนดเกณฑ์การให้บริการ Telemedicine และคลินิกออนไลน์ รวมถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุข ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับล่าสุด ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021 เกี่ยวกับ เรื่อง มาตรฐานการให้บริการของสถานพยาบาลโดยใช้ระบบบริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)   เพื่อสนับสนุน รวมถึงควบคุมธุรกิจและผู้ให้บริการดังกล่าวในบางเรื่อง เนื่องจากการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขมีผลกระทบต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของประชากรโดยตรง

สำหรับ AddVentures by SCG นั้น ได้ดำเนินการศึกษาธุรกิจในวงการ HealthTech อย่างต่อเนื่อง เพราะ เล็งเห็นถึงประโยชน์เทคโนโลยีทางการแพทย์และสุขภาพ ที่จะเข้ามาช่วยดูแล และยกระดับชีวิตและความเป็นอยู่ของพนักงานและครอบครัว (ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ) ตลอดจนประชาชนในประเทศ โดยในช่วงที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ทาง AddVentures by SCG ได้ร่วมมือกับ Business Units ใน SCG ซึ่งนำโดยทีม HR startups ทั้งไทยและต่างชาติ ภายใต้ชื่อทีม Ignitor เพื่อส่งเสริมโครงการ open innovation ทำโครงการเพื่อนำร่อง เพื่อให้พนักงานและครอบครัวสามารถปรึกษาแพทย์ออนไลน์ได้ เพื่อเป็นการริเริ่มให้พนักงานและครอบครัวได้ทดลองใช้เทคโนโลยี, ส่งเสริมให้ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในช่วง social distancing ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงต่อพนักงานและครอบครัว, บุคลากรทางการแพทย์ และสังคมโดยรวม, รวมไปถึงเป็นเครื่องมืออีกหนึ่งช่องทางที่เป็นประโยชน์ต่อพนักงาน ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีค่าขององค์กร ในการพบแพทย์ และเข้าถึงการรักษาได้อย่างรวดเร็ว  โดยโครงการที่ได้ดำเนินไปแล้ว ได้แก่

●  Teleconsulting ซึ่งดำเนินการร่วมกับ Doctor A to Z และทีม HR ของ SCG (SCG CA&FI, SCG CBM, SCG International, SCG Packaging) เพื่อให้พนักงานและครอบครัวปรึกษาแพทย์จิตอาสาออนไลน์เกี่ยวกับโรค COVID-19

●  Telemedicine ซึ่งดำเนินการร่วมกับ Alodokter (Indo startup) และทีม Indonesia Corporate Office  เพื่อให้พนักงานและครอบครัวในประเทศอินโดนีเซีย ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ในช่วงที่ Lock down และเป็นโครงการที่ขยายผลนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน

●  Telemedicine ซึ่งดำเนินการร่วมกับ Doctor Anywhere Vietnam และทีม HR ของ SCG ในเวียดนาม (SCG Vietnam,Vina Kraft Paper (Vietnam) เพื่อให้พนักงานและครอบครัวในประเทศเวียดนาม ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ในช่วงที่ Lock down และเป็นโครงการที่ขยายผลนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน

●   Telemental Health ภายใต้โครงการ Mental Wellness ซึ่งดำเนินการร่วมกับ Doctor Anywhere Thailand และทีม HR ของ SCG (SCG CA&FI, SCG CBM,SCG International) เพื่อให้พนักงานและครอบครัว สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

อย่างไรก็ตาม Telemedicine มีข้อจำกัดในหลายด้าน เช่น แพทย์ไม่สามารถตรวจร่างกายผู้ป่วยได้ ซึ่งการให้คำวินิจฉัยหรือคำแนะนำทางการแพทย์นั้น แพทย์อาจต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจากจากการฟังเสียงปอด เสียงหัวใจ และอื่นๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจวินิจฉัยโรค แต่ในอนาคต น่าจะมีเทคโนโลยีที่สามารถเข้ามาแก้ ปัญหาในส่วนนี้ได้ ซึ่งได้แก่ เครื่องมือในกลุ่ม Handheld Examination Kit และเครื่องมืออื่นๆ ที่จะเข้ามาสนับสนุน Telemedicine

สุดท้ายนี้ ด้วยข้อจำกัดหลายๆประการ เช่น ความเสถียรของเทคโนโลยี, ข้อจำกัดในเทคโนโลยี AI บางประการ โดยเฉพาะในส่วนของ Deep Learning  ที่ยังคงต้องพัฒนา ทำให้ในปัจจุบันวงการแพทย์และสาธารณสุข ยังไม่ถูก Disrupt โดยสมบูรณ์เหมือนอุตสาหกรรมอื่น  แต่ในกรณีนี้เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง Traditional business และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากที่สุด Telemedicine จึงยังไม่สามารถ Disrupt วงการ HealthCare ได้โดยสมบูรณ์ เพราะ ยังไม่สามารถมาแทนที่โรงพยาบาลได้โดยสมบูรณ์ แต่เป็นเทคโนโลยีทางเลือกที่มีประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง เช่น  ประชาชนสามารถดูแลและรักษาสุขภาพของตัวเองโดยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย, ช่วยลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วง Social distancing ได้

เรียบเรียงโดย: Jutamard , Investment and Digital Partnership Manager

Reference:
Bain & Company,
https://www.scb.co.th,
https://thestandard.co/ping-an-good-doctor,
https://thestandard.co/telehealth/,
https://allwellhealthcare.com/telemedicine/,
http://www.stockwave.in.th/hot-news/58061-----chula-care-.html, https://www.sequelonline.com/?p=91489,       https://www.blognone.com/node/103404, https://www.scb.co.th/th/about-us/news/feb-2563/nws-rama-app.html, https://www.prachachat.net/public-relations/news-321189, https://www.prachachat.net/public-relations/news-369630,
https://brandinside.asia/scb-samitivej-wealth/

คำเฉพาะและความหมาย:

●  Telehealth คือ ระบบที่นำเทคโนโลยีการสื่อสารรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ในการบริการด้านสุขภาพ ซึ่งรวมถึง การสื่อสารระหว่างแพทย์ถึงแพทย์, การให้คำปรึกษาระหว่างแพทย์กับคนไข้, การที่บุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่ห่างไกลปรึกษาแพทย์ในเมืองที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะโรคมากกว่า, การให้ความรู้เรื่องยาจากเภสัชกรไปสู่ประชาชน ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดจากระบบ Telehealth ที่ในปัจจุบันถูกนำไปพัฒนา ต่อยอด และแตกแขนงออกมาเป็นระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น

●  Telemedicine เป็นระบบที่ผู้ป่วย หรือประชาชนทั่วไป สามารถรับการตรวจวินิจฉัยและรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรงแบบ real-time เกี่ยวกับอาการป่วยเบื้องต้น หรือติดตามผลการรักษาโรคประจำตัว (Monitoring) ผ่านการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร Video conference

●  Teletriage เป็นระบบที่ใช้คัดกรองผู้ป่วยก่อนจะเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาล ด้วยการตอบแบบสอบถาม ประเมินความเสี่ยงผ่านทาง Video conference หรือรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งในกรณีที่ผู้ป่วยรายนั้นไม่มีความเสี่ยง แพทย์ก็จะแนะนำให้ผู้ป่วยไม่ต้องมาที่โรงพยาบาล แต่หากมีความเสี่ยงสูง แพทย์ก็จะเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อม ก่อนพบผู้ป่วยได้ ยกตัวอย่างเช่น การให้บริการ Teleconsulting ของ startups ต่างๆ ในช่วงเกิดการระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทย

●  Ping An Good Doctor คือ แพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชันบนมือถือ (Mobile Application) ที่ให้บริการทางด้านการแพทย์ สาธารณสุข และสุขภาพ แบบ One-stop service digital health ขนาดใหญ่ของจีน โดยบนแพลตฟอร์ม มีการสร้างชุมชน และเครือข่ายการให้บริการทั้งทางออนไลน์ (Online) และ ออฟไลน์ (Offline) อาทิเช่น มีเครือข่ายร้านยามากกว่า 110,000 ร้าน และทีมบุคลากรทางการแพทย์ ทั้ง In-house และ external medical experts เป็นต้น  อีกทั้ง แพลตฟอร์มยังมี AI/ML ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถปรึกษาอาการเบื้องต้นผ่านการตอบคำถามด้วย AI   ช่วยให้ผู้ป่วย หรือลูกค้า สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ฯ ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น  ผู้ป่วย หรือลูกค้า สามารถค้นหาแพทย์  ปรึกษา และนัดหมายแพทย์ออนไลน์ได้ และหากเมื่อผู้ป่วยต้องการได้รับยา และ/หรือเวชภัณฑ์ต่างๆ ก็สามารถซื้อยา และส่งถึงบ้านได้