"Unicorn Landing" ภารกิจปั้น Unicorn ผ่าน Venture Studio จาก SCG

Venture Studio โมเดลธุรกิจที่บริษัทหรือองค์กรทำงานเปรียบเสมือนโรงงานสร้าง Startup ออกสู่ตลาด ซึ่ง Startup นั้น ๆ จะเปรียบเสมือนเป็นตัวช่วยติดสปีดขององค์กรในการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นนั่นเอง

Venture Studio จะกำหนดขอบเขตของธุรกิจที่สนใจ หรือไอเดียที่ต้องการสร้างขึ้นมา จากนั้นเฟ้นหา Founder พร้อมทีมงาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้ไอเดียธุรกิจนั้น ๆ เข้าสู่ตลาด(Go-to-Market) ได้จริงพร้อมทั้งสนับสนุนด้านเงินลงทุน ความรู้ เครือข่าย(Connection) ที่ช่วยเร่งให้ Startup นั้น ๆ Scaleได้ไวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาหาเงินลงทุน (Fund rasing) จากกลุ่ม VC รายอื่น ๆ

ทั้งนี้ ไอเดียที่ Venture Studio สนใจมักเป็นไอเดียธุรกิจที่ค่อนข้างพิสูจน์ชัดเจนแล้วว่า “ไปรอด” ทั้งเรื่องเทคโนโลยีที่ใช้ การจัดการ และการบริหารการตลาด (Macro Market)

รู้หรือไม่ ? Platform ชื่อดังอย่าง Lazada หรือ Foodpand ที่หลายๆคนเป็นลูกค้าขาประจำอยู่นั้น ได้ถูกปั้นขึ้นมาจากโมเดล Venture Studio เช่นกัน

จุดเริ่มต้นของ Venture Studio เกิดขึ้นในปี 1996 ทีประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Idealab ทั้งนี้ตั้งแต่เริ่มต้นมาจนถึงปัจจุบัน Idealab ผลักดัน Startup ออกสู่ตลาดมาแล้วกว่า 100 บริษัท ซึ่งใน 100 กว่าบริษัทนี้  Scale และเติบโตไปถึงระดับ Unicorn ไปแล้วกว่า 5%

ในปีต่อ ๆ มา บริษัทอื่น ๆ หลังเห็นความสำเร็จของ Idealab แล้ว จึงเริ่มสนใจโมเดล Venture Studio กันมากขึ้น  โดยเฉพาะ Rocket Internet บริษัทสัญชาติเยอรมัน เจ้าพ่อแห่ง Venture Studio ที่คนในวงการ Startup รู้จักดี  Rocket Internet ก่อตั้งในปี 2007 ปั้น Startup ชื่อดังในวงการมาแล้วมากมาย เช่น Lazada, Foodpanda, Home24, Zalora ทั้งยังทำกำไรจากการขาย Startup ให้ธุรกิจอื่น ๆ ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือการขาย Lazada ให้กับ Alibaba นั่นเอง

โอกาสที่มาพร้อมความท้าทายในอนาคต

ถึงแม้ว่า Venture Studio จะมีข้อดีที่น่าสนใจหลายอย่าง แต่ก็ถือว่าเป็นของใหม่สำหรับบ้านเรา โดยยังต้องอาศัยระยะเวลาในการสร้างความเข้าใจกับสร้าง Success case ให้เกิดขึ้น แน่นอนว่าต้องเจอกับความท้าทายหลาย ๆ อย่างในทุกส่วนของ ecosystem ทั้ง

  • Founder - การหา Founder ที่เหมาะสมในการจะมา Execute ไอเดียของผู้อื่นไม่ใช่เรื่องง่าย Founder เก่งๆทุกคนมักมีไอเดียที่ตัวเองมี Passion เป็นพิเศษ หรือบางคนก็จะมีความเชื่อส่วนตัวที่อยากจะ Execute ในสิ่งที่ตัวเองคิดเป็นหลัก
  • Corporate – หลายๆครั้งไอเดียที่ Corporate ต้องการทำเป็นสิ่งที่อาจมากับการทำลายธุรกิจเดิมขององค์กร (Cannibalize) การที่จะยอมให้ Startup ที่ตั้งขึ้นมามีสัดส่วนของ Founder ที่มาก ส่งผลให้ Corporate รู้สึกเหมือนกำลังยกธุรกิจในอนาคตให้ผู้อื่น โดยการที่ Corporate จะใจกว้างยอมเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในตอนแรก (เพื่อโอกาสในการลงทุนเพิ่มภายหลัง) จนกว่า Startup นั้น ๆ จะเติบโตได้ดี เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาทั้งในเรื่อง Mindset ของผู้บริหารและนโยบายของบริษัทควบคู่กันไป
  • VC และนักลงทุน - โดยปกติ Early stage VC มักคุ้นเคยกับการลงทุนใน Startup ที่ Founder ยังมีสัดส่วนถือหุ้นในบริษัทค่อนข้างมาก (70%-80%) หากมี Venture Studio หรือ Corporate เข้ามาตั้งแต่ตอนแรกจะทำให้สัดส่วนของ Founder ลดลงตามลำดับ ซึ่งVC ปกติจะไม่คุ้นเคยกับสัดส่วนของ Founder ที่ไม่ได้อยู่ในปริมาณมากแบบที่เคยเป็น แต่ลืมนึกไปว่าจริง ๆ Venture Studio หรือ Corporate เป็นหนึ่งใน Founder ด้วยเหมือนกัน เพราะที่ Startup เหล่านี้สามารถเติบโตได้เร็วหรือจะโตต่อไปในอนาคต ก็จะต้องใช้ Resource กับ Partnership ของ Corporate เหล่านั้นมากขึ้นไปด้วยเช่นกัน

ร่วมเป็นหนึ่งในสุดยอดโปรเจค "Unicorn Landing" ของ SCG

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วขอสรุปได้ว่า Venture Studio ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ของการทำ Startup และการสร้าง Innovation ให้เกิดขึ้นในบ้านเรา สำหรับทาง AddVentures เอง ขณะนี้เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมทีม "Unicorn Landing" เพื่อช่วย Startup ขยายธุรกิจใหม่ๆในประเทศไทย ในนามของตำแหน่ง Entrepreneur in Residence ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสอันดี ของหนุ่มสาวที่มี Startup mindset ที่จะได้ประสบการณ์ใหม่ในการเรียนรู้จากทั้ง SCG และ Startup ที่ได้ร่วมงานด้วย หากสนใจสามารถอ่านรายละเอียด Job description และส่ง Resume มาได้เลยที่ pongsapo@scg.com

อ่านรายละเอียด Job description http://bit.ly/3rLgrSe