Venture Studio โมเดลลัดสู่ความสำเร็จขององค์กรยุคดิจิทัล

Venture Studio โมเดลธุรกิจที่บริษัทหรือองค์กรทำงานเปรียบเสมือนโรงงานสร้าง Startup ออกสู่ตลาด ซึ่งStartupนั้น ๆ จะเปรียบเสมือนเป็นตัวช่วยติดสปีดขององค์กรในการสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นนั่นเอง

Venture Studio จะกำหนดขอบเขตของธุรกิจที่สนใจ หรือไอเดียที่ต้องการสร้างขึ้นมา จากนั้นเฟ้นหา Founder พร้อมทีมงาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการทำให้ไอเดียธุรกิจนั้น ๆ เข้าสู่ตลาด(Go-to-Market) ได้จริงพร้อมทั้งสนับสนุนด้านเงินลงทุน ความรู้ เครือข่าย(Connection) ที่ช่วยเร่งให้ Startup นั้น ๆ ขยายผลได้ไวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาหาเงินลงทุน (Fund rasing) จากกลุ่ม VC รายอื่น ๆ

ทั้งนี้ ไอเดียที่ Venture Studio สนใจมักเป็นไอเดียธุรกิจที่ค่อนข้างพิสูจน์ชัดเจนแล้วว่า “ไปรอด” ทั้งเรื่องเทคโนโลยีที่ใช้ การจัดการ และการบริหารการตลาด (Macro Market)

“ Startup ที่มาจาก Venture Studio เปรียบเสมือนเด็กหลอดแก้วที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พอเริ่มเดินได้ก็ใช้เทคโนโลยีเร่งให้เติบโต โดยคาดหวังว่าเด็กจะใช้เวลาล้มลุกคลุกคลานเพียงไม่นาน แต่สามารถวิ่งเองได้ว่องไวกว่าเด็กคนอื่น ๆ ”

โอกาสประสบความสำเร็จของ Startup จาก Venture Studio?

Venture Studio มีจุดเริ่มต้นมาในปี 1996 ทีประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Idealab Studio เป็นบริษัทผู้บุกเบิก ซึ่งตั้งแต่เริ่มต้นมาจนถึงปัจจุบัน Idealab ผลักดัน Startup ออกสู่ตลาดมาแล้วกว่า 100 ซึ่งใน 100 กว่าบริษัทนี้ ขยายผลและเติบโตไปถึงระดับ Unicorn กว่า 5% กันเลยทีเดียว

ภาพจาก: https://oberlinentrepreneurship.wordpress.com/2018/12/16/idealab-tech-incubator-in-pasadena-ca/

ในปีต่อ ๆ มา บริษัทอื่นๆหลังจากเห็นผลแห่งความสำเร็จของ Idealabแล้ว จึงเริ่มสนใจในโมเดลธุรกิจ Venture Studio กันมากขึ้น ในที่นี้คงพลาดไม่ได้ที่จะกล่าวถึง Rocket Internet Startup สัญชาติเยอรมัน เจ้าพ่อแห่ง Venture Studio ที่หลายคนในวงการรู้จักกันดี  โดย Rocket Internet ได้ก่อตั้งในปี 2007 ปั้น Startup ชื่อดังในวงการมาแล้วมากมาย เช่น Lazada, Foodpanda, Home24, Zalora ทั้งยังทำกำไรจากการขาย Startup ให้ธุรกิจอื่น ๆ ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือการขาย Lazada ให้กับ Alibaba นั่นเอง

ซึ่งหากอ้างอิงจากจากรายงานของ  Global Startup Studio Network (GSSN) ในปี 2020 พบว่า Startup ที่ตั้งต้นผ่าน Venture Studio นั้น ใช้เวลาทำงานจนเห็นผลลัพธ์จริงด้วยเวลาอันสั้นกว่า Startup ทั่วไป เฉลี่ยแล้วไวกว่าถึง 3เท่า ในระดับช่วงตั้งต้น (Zero to Seed) นอกเหนือจากนั้น ในด้านผลตอบแทนจากการลงทุนของนักลงทุน หากเปรียบเทียบกันแล้วพบว่า ค่าเฉลี่ยของอัตราผลตอบแทนภายใน(IRR) จากการลงทุนใน Startup ที่ตั้งต้นด้วย Venture Studio นั้นสูงกว่าส Startup ทั่วไปกว่า 30% เลยทีเดียว

“ตอบโจทย์ ทุกฝ่าย” เหตุผลที่หลาย Corporate สนใจ Venture Studio Model

ในบ้านเราเองตอนนี้มีหลายๆบริษัทที่เริ่มทำ Venture Studio ของตนเองไปแล้วหลายราย ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นองค์กรที่มี Corporate VC ดำเนินการมาแล้วส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะองค์กรได้มองเห็นแล้วว่า ความท้าทายหนึ่ง ที่ Corporate VC ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในไทยได้เจอก็คือ ไม่สามารถหา Startup ใน Vertical หรือ Area ที่ตนเองสนใจลงทุนได้อาจเพราะหลายๆสาเหตุ เช่น ยังไม่มี Startup ในพื้นที่นั้นๆทำ หรืออาจพูดคุยกันแล้วแต่ยังไม่ลงตัว ทั้งนี้โมเดล Ventures Studio นั้นไม่เพียงแค่ตอบโจทย์ทาง Corporate เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึง Stakeholder อื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งก็คือ

  • Founder : ทาง Founder สามารถโฟกัสให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสร้างธุรกิจให้ตรงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินลงทุนในระยะเริ่มแรก (อย่างน้อยก็ Seed Stage ช่วงปีแรก) ยิ่งไปกว่านั้นหลายๆ Venture Studio ยังมี Backend Service ให้บริการทรัพยากรในการทำงานที่พร้อมเพรียงคอยสนับสนุน Startup ทั้งหมด เช่น เรื่องระบบบัญชี, HR, งาน Admin ต่างๆอีกด้วย
  • Investor : ด้วยความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ลดลงไปมากในตอนแรก ตั้งแต่การหาไอเดียในการทำ หรือการที่ Founder ได้ใช้เวลาไปกับธุรกิจได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินทุนกับงานจิปาถะอื่น ๆ ทำให้โอกาสประสบความสำเร็จมีสูงมากขึ้น นอกเหนือจากนั้น หากความร่วมมือระหว่าง Founder กับ Corporate เป็นไปได้ด้วยดี โอกาสในการขยายผล(Scale) ยิ่งทำได้เร็วและง่ายขึ้นไปอีก เพราะการที่ Corporate สามารถแชร์ ฐานลูกค้า, Business Partner, Strategic Resource อื่น ๆ ตลอดจนถึง Business Infrastructure เพิ่มเติมในอนาคต ก็จะยิ่งทำให้ Startup ไม่ต้องเสียเวลาและเงินลงทุนที่มาก เพื่อสร้างสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้นเอง

โอกาสที่มาพร้อมกับความท้าทายในอนาคต

ถึงแม้ว่า Venture Studio จะมีข้อดีที่น่าสนใจหลายอย่าง แต่ก็ถือว่าเป็นของใหม่ในบ้านเราสำหรับ Corporate,  Startup รวมถึง VC Ecosystem  ทั้งนี้ยังต้องอาศัยระยะเวลาในการสร้างความเช้าใจกับสร้าง Success case ให้เกิดขึ้นได้จริง โดยมีความท้าทายหลาย ๆ อย่างที่อยู่บนเส้นทางของการทำ Venture Studio นี้ เช่น

  • Founder - การหา Founder ชั้นนำที่เหมาะสม ในการจะมา Execute ไอเดียของผู้อื่นไม่ใช่เรื่องง่าย Founder เก่งๆทุกคนมักมีไอเดียที่ตัวเองมี Passion เป็นพิเศษ หรือบางคนก็จะมีความเชื่อส่วนตัวที่อยากจะ Execute ในสิ่งที่ตัวเองคิดเป็นหลัก
  • Corporate – หลายๆครั้งไอเดียที่ Corporate ต้องการทำเป็นสิ่งที่อาจมากับการทำลายธุรกิจเดิมขององค์กร (Cannibalize)  การที่จะยอมให้ Startup ที่ตั้งขึ้นมามีสัดส่วนของ Founder ที่มาก ส่งผลให้ Corporate รู้สึกเหมือนกำลังยกธุรกิจในอนาคตให้ผู้อื่น โดยการที่ Corporate จะใจกว้างยอมเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยในตอนแรก (เพื่อโอกาสในการลงทุนเพิ่มเติมในภายหลัง หาก Startup นั้น ๆ เติบโตได้ดีเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาทั้งในเรื่อง Mindset ของผู้บริหารและนโยบายของบริษัทควบคู่กันไป
  • VC และนักลงทุน - โดยปกติ Early stage VC มักคุ้นเคยกับการลงทุนใน Startup ที่ Founder ยังมีสัดส่วนถือหุ้นในบริษัทค่อนข้างมาก (70%-80%) หากมี Venture Studio หรือ Corporate เข้ามาตั้งแต่ตอนแรกจะทำให้สัดส่วนของ Founder ลดลงตามลำดับ ซึ่งVC ปกติจะไม่คุ้นเคยกับสัดส่วนของ Founder ที่ไม่ได้อยู่ในปริมาณมากแบบที่เคยเป็น แต่ลืมนึกไปว่าจริง ๆ แล้วควรถือว่า Venture Studio หรือ Corporate เป็นหนึ่งใน Founder ด้วยเหมือนกัน เพราะที่ Startup เหล่านี้สามารถเติบโตได้เร็วหรือจะโตต่อไปในอนาคตก็จะต้องใช้ Resource กับ Partnership ของ Corporate เหล่านั้นมากขึ้นไปด้วยเช่นกัน

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วขอสรุปได้ว่า Venture Studio ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ของการทำ Startup และการสร้าง Innovation ให้เกิดขึ้นในบ้านเรา สำหรับทาง AddVentures และ Zero to One (Internal Startup Studio ของ SCG) เอง ขณะนี้เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมทีม เพื่อช่วย Startup ขยายธุรกิจใหม่ๆทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ในนามของตำแหน่งของ Enterpreneur in Residence และ Venture Builder Partner ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสอันดี ของหนุ่มสาวที่มี Startup mindset ที่จะได้ประสบการณ์ใหม่ในการเรียนรู้จากทั้ง SCG และ Startup ที่ได้ร่วมงานด้วย หากสนใจสามารถอ่านรายละเอียดเนื้องาน และส่ง Resume มาได้เลยที่ pongsapo@scg.com

อ่านรายละเอียด Job description http://bit.ly/3rLgrSe

ที่มา: Disrupting the Venture Landscape by GSSN report

เรียบเรียงโดย : ดุสิต ชัยรัตน์ (Fund Manager, AddVentures by SCG)